คุณเคยไหมปวดบริเวณใบหน้าทั้งๆที่ก็ไม่ได้ไปโดนอะไรมา สำหรับหลายๆคนที่รู้สึกปวดหรือเจ็บที่ใบหน้า ก็คงต้องคิดทึกทักกันไปเองว่า สาเหตุคงต้องมาจากฟันแน่ๆ แต่จะใช่จริงๆหรือป่าวนั้นเราคงต้องให้แพทย์ตรวจเช็คกันอีกที
วันนี้ทาง bookup.asia ได้นำ การวินิจฉัยของคณะทันตแพทย์ มาให้คุณได้ทราบกันว่าถ้า การปวดบริเวณหน้านั้นสาเหตุไม่ได้มาจากฟันแล้วมันเกิดขึ้นจากอะไร ?
ความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและช่องปาก เป็นอาการหลักที่ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจะพบว่าความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางความรู้สึกของแต่ละบุคคล ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อความเจ็บปวดที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความเจ็บปวดที่เคยได้รับในอดีต ทั้งสภาพร่างกาย และสถาพจิตใจในขณะนั้น
แม้ว่าอาการเจ็บปวดภายในช่องปากส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากฟัน แต่ก็มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันได้เช่นกัน ดังนั้นทันแพทย์ควรในเรื่องนี้เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์สาเหตุของอาการเจ็บปวดและให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การให้การรักษาที่เหมาะสม
สาเหตุและลักษณะอาการของความเจ็บปวดที่ไม่มีสาเหตุมาจากฟัน
1. Myofascial toothache
กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและลำคอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกัยการบดเคี้ยวสามารถมี referred pain มายังฟันได้ ลักษณะทางคลินิกจะพบ
อาการปวดคงที่ โดยปวดแบบตื้อๆ ไม่มีลักษณะเต้นตุบๆ
ผู้ป่วยมักมีอาการปวดฟันโดยไม่สามารถระบุฟันที่แน่นอนได้
อาการปวดไม่สัมพันธ์กับการกระตุ้นที่ซี่ฟัน แต่จะปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อกด กระตุ้นหรือมีการใช้งานของกล้ามเนื้อส่วนนั้น
การใช้ยาชาเฉพาะที่ ที่ซี่ฟันไม่สามารถลดความเจ็บปวดได้ ในขณะที่การใช้ยาชากับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องจะช่วยลดอาการปวดฟันลงได้
2. Sinus and / or nasal mucosal toothache
อาการปวดฟันที่เกิดจากโพรงอากาศมักเกิดขึ้นบริเวณฟันกรามบนโดยผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีแรงดันบริเวณใต้กระบอกตาร่วมด้วย ซึ่งจะมีอาการปวดฟันจะพบลักษณะ
ผู้ป่วยมีอาการปวดต่อเนื่องแบบตื้อบริเวณฟันบนหลายซี่ โดยเฉพาะกับฟันกรามบนที่รากฟันมีความสัมพันธ์กับโพรงอากาศ
อาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มแรงดันในโพรงอากาศที่เกี่ยวข้องเช่น การลดศีรษะต่ำลง การเดินกระแทกส้นเท้า การเดินลงบันได เป็นต้น
เมื่อเคาะบริเวณฟันหรือโพรงอากาศจะมีอาการปวดตื้อขึ้นมาได้
3. Neurivascular toothache
อาการปวดศีรษะอาจจะก่อให้เกิดอาการปวดในลักษณะคล้ายการปวดฟันได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ผิดพลาดจะนำไปสู่วิธีการรักษาที่ผิด และไม่สามารถแก้ไข้อาการปวดได้ ลักษณะสำคัญของอาการปวดฟันที่เนื่องมาจากระบบประสาทและหลอดเลือดได้แก่
จะมีอาการปวดฟันขึ้นมาเอง โดยมีลักษณะเต้นตุบๆ และมักมีอาการรุนแรง
การปวดฟันจะปวดเป็นช่วงๆ โดยมีระยะหายปวดระหว่างช่วงดังกล่าว
ช่วงเวลาที่ปวดมักจะมีความจำเพาะ เช่น ปวดขึ้นฝนช่วงเวลาเดิมของวันหรือของเดือน
มักพบที่บริเวณฟันเขี้ยวบน หรือฟันกรามน้อยบน โดยผู้ป่วยจะระบุตำแหน่งของซี่ฟันที่ปวดได้อย่างชัดเจน
ผู้ป่วยให้ประวัติของโรคทางระบบประสาทและหลอดเลือด และรับประทานยารักษาโรคดังกล่าว เช่น กินยารักษาไมเกรน สามารถบรรเทาอาการปวดฟันลงได้
4. Neuropathic toothache
อาการปวดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากระบบประสาทอาจยากต่อการวินิจฉัยเนื่องจากไม่พบความผิดปกติใดๆในทางคลินิก อาการปวดจากเส้นประสาทนี้สามารถจำแนกตามระยะเวลาในการเกิดได้เป็นแบบช่วงๆ และแบบต่อเนื่อง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดรุนแรง มักเป็นข้างเดียว โดยมีลักษณะเหมือนถูกไฟช็อต
อาการปวดถูกกระตุ้นเมื่อสัมผัสบริเวณ trigger zone โดยมากมักจะอยู่ภายนอกช่องปาก เช่น ริมฝีปากหรือคาง
มีระยะเวลาที่ไม่เกิดอาการปวด จะเกิดขึ้นระหว่างช่วง
การใช้ยาชาเฉพาะที่บริเวณ trigger zone จะสามารถช่วยลดอาการปวดลงได้
5. Cardiac toothache
อาการปวดฟันอาจเป็นอาการแสดงของโรคหัวใจขาดเลือดได้ โดยมักพบร่วมกับอาการปวดหน้าอกบริเวณใต้ต่อกระดูกสันอก และลามไปที่แขนข้างซ้ายอาการปวดฟันที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะ
ปวดตุบแบบเป็นจังหว่ะ โดยจะมีอาการเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย
ปวดฟันร่วมกับอาการปวดหน้าอก
อาการปวดลดลงเมื่อได้รับยา mitroglycerin
*** หากผู้ป่วยมีอาการปวดที่คิดว่ามาจากความผิดปกติของหัวใจควรส่งต่อแพทย์เพื่อเข้ารักษาโดยทันที
6. Psychogenic toothache
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเนื่องจากความผิดปกติทางจิตได้โดยลักษณะของอาการปวดจะเป็นการปวดแยยเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับฟันหลายซี่ หลายตำแหน่ง ซึ่งผู้ป่วยอาจให้ประวัติได้ไม่ตรงกันในแต่ละครั้ง และไม่สามารถหาสาเหตุในทางคลินิกได้รวมทั้งไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ
ทั้งนี้การให้การวินิจฉัยอาการปวดฟันของผู้ป่วยว่าเป็น Psychogenic toothache ได้นั้น ทันตแพทย์จะต้องสามารถตัดสาเหตุอื่นๆทั้งหมดที่อาจทำให้เกิดอาการปวดฟันออกไปได้ ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยสาเหตุจองอาการปวดฟันได้อย่างถูกต้อง ทันตแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงลักษณะของอาการปวดฟันที่มีที่มาจากสาเหตุต่างๆ ชักประวัติถึงลักษณะของอาการปวดที่ผู้ป่วยประสบโดยละเอียด เช่น ตำแหน่งที่เป็น การเริ่มปวด ระยะเวลาในการปวด ลักษณะการปวด ปัจจัยกระตุ้น-ลดอาการปวด เป็นต้น ตรวจทางคลินิกทั้งภายในและภายนอกช่องปาก รวมทั้งมีการตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสม จึงจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและสามารถบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น